ภาพสะพานข้ามแม่น้ำโขง นครพนม - คำม่วน ในตอนบ่ายของวันที่ 3 ตุลาคม 2553
การต่อตัวสะพาน ที่เป็นกล่องคอนกรีตอัดแรงเข้ากับตอม่อสะพานสำเร็จแล้ว
ตัวโครงสร้างสะพานฯกำลังรอการเชื่อมต่อในเร็ววันนี้
สังเกตุที่ฐานตอม่อสะพาน จะเห็นว่า แม่น้ำโขงมีระดับน้ำที่ต่ำมากในช่วงเวลานี้
งานก่อสร้างทางฝั่งลาวก็มีความคืบหน้าพอสมควร
ตัวสะพานมองไกลๆ คล้ายกับว่าบางช่วงจะมีส่วนโค้งด้วย
งานโครงสร้างสำคัญของตัวสะพานใกล้จะเสร็จสมบูรณ์ เหลือแต่ส่วนประกอบอื่นๆ
ตัวสะพานคล่อมถนน ณ ที่จุดตัดกับทางหลวงหมายเลข 212 นครพนม - ท่าอุเทน
เสาใหญ่ ของสะพานเป็นรูปเป็นร่างขึ้นแล้ว
งานก่อสร้างตรงจุดตัดกับถนน 212 ยังไม่ค่อยก้าวหน้าเท่าไหร่
ภาพสวยของสะพานฯโดยมีภูเขาทางฝั่งลาวเป็นฉากหลัง ในส่วนของทางขี้นสะพาน
ถนนด้านข้างทางขึ้นสะพาน มีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก
ตัวอาคารด่านศุลกากรนครพนม มีความคืบหน้าพอสมควร
ถนนด้านข้างทางขึ้นสะพานฯ กำลังบดอ้ด
การก่อสร้างทางน้ำไหล คสล. เกือบจะเสร็จเรียบร้อย
มองเห็นการก่อสร้างอาคารด่านศุลกากรนครพนม แต่ไกลๆ
งานในบริเวณนี้ ยังมีปมค้างคาของการออกแบบอยู่ 3 เรื่อง
คือ การนำองค์พระธาตุพนม มาใช้เพื่อการตกแต่ง มากกว่าเพื่อการสักการะบูชา
การใช้ศิลปะท้องถิ่น มาแทน" ศิลปะล้านช้าง " ซึ่งจะเป็นประเด็นการกระทบกับเพื่อนบ้าน
การใช้ " พระยานาค " มาแทน " ช้าง 3 เชือก " ในงานประติมากรรม
ทั้งนี้เพื่อ ความเหมาะสมและเพื่อรักษาอัตลักษณ์ของท้องถิ่นนครพนม
ภาพเหล็กแหลมที่เห็น ตรงยอดหลังคาของอาคารด่านศุลกากรนครพนมนี้
ตามการออกแบบเดิม ของกรมทางหลวง จะใช้รูปทรงองค์พระธาตุพนม มาตกแต่ง
โดยผู้ออกแบบ ใช้เหตุผลที่ว่า พระธาตุพนม เป็นสัญญาลักษณ์ของจังหวัดนครพนม
และเพื่อการแสดงออกถึงความเคารพยกย่องเชิดชูใว้สูงสุด
และเป็นศิริมงคลแก่อาคารและเป็นขวัญกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงาน
อยู่ ณ ที่ด่านศุลกากรนครพนม นี้
นี่ มันเป็นความคิดของชาวพุทธ จริงหรือ
พระธาตุพนม เป็นสิ่งเคารพสักการะสูงสุดของชาวพุทธไทยและลาว
การจะนำองค์พระธาตุพนม ไปเป็นส่วนประกอบตกแต่งของอาคาร ถือว่าไม่เหมาะสม
หากจะนำศิลปะลวดลายในส่วนขององค์พระธาตุฯไปใช้ ก็ยังพออนุโลม
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยคือ ประติมากรรมที่ใช้ประกอบกับงานสะพาน ฯ
แบบเดิมที่กรมทางหลวงได้ออกแบบไว้คือ ช้าง 3 เชือก โดยอ้างว่าเป็นสัตว์ประจำชาติ
แต่ชาวนครพนม ได้เสนอการแก้ไขผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ไปถึงกรมทางหลวง
ให้ใช้ " พระยานาค " แทน เพราะท้องถิ่นในลุ่มน้ำโขง มีความคุ้นเคยและผูกพันธุ์มากกว่าช้าง
แต่เรื่องยังเงียบอยู่ และมีทีว่าจะไม่ตอบสนองต่อการเรียกร้องของชาวนครพนม
การไม่ฟังเสียงของประชาชนนี้ ผลจะเป็นประการใด ก็ให้ลองไปถามนักการเมืองดู
เอาตั้งแต่ " ตอ " เล็กระดับ อบต. ไปจนถึง " ตอ " ใหญ่ระดับ รมต.
ว่าจะเอา " ประชานิยม " หรือ " ประชาลงทัณฑ์ "
สวัสดี ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น