วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การนำ " พระธาตุ " มาประดับหลังคา อาคารด่านพรมแดนนครพนม เหมาะสมอย่างไร ?




"  อาคารด่านพรมแดน "
ชื่อตามการชี้แจงของ โครงการก่อสร้างสะพานแห่งที่ 3
กรมทางหลวง  


อาคารนี้มีหน้าที่ ประโยชน์ และความสำคัญอย่างไร  ?


เป็น " อาคารด่านศุลกากรจังหวัดนครพนม  "
มีหน้าที่ ตรวจตราผู้ที่จะเดินทางเข้า - ออก นอกประเทศ  โดยผ่านทาง
สะพานมิตรภาพ  ไทย - ลาว แห่งที่ 3  ณ ที่จังหวัดนครพนม
อ้อ  ก็แค่ อาคารสาธารณะธรรมดาๆ   ที่คนจะไป ใครจะมา เมื่อไหร่ก็ได้
ระดับชั้น ความสำคัญ  ก็ประมาณ  ด่านชายแดน  ทั่วๆไป
ไม่ได้มีสาระสำคัญของการก่อสร้างว่า สร้างเพื่อ วาระใด หรือ วัตถุประสงค์ใด


แล้ว  ยอดแหลมๆ สีทองที่ใช้ประดับหลังคาอาคารฯ นี้  คือ อะไร  ?


ทางวิชาสถาปัตยกรรมไทย  เรียกว่า  " เรือนยอด "  หรือ " กุฏาคาร  "
มีระเบียบที่เรียกว่า " ฐานานุศักดิ์ "  ( สิทธิการนำไปใช้ว่า ได้หรือไม่ )
กำหนดใช้ในงานที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ และ ศาสนา เท่านั้น

เรือนยอด , กุฏาคาร    ความหมาย ใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิต คือ 
อาคารที่มีหลังคาทรงสูง มีหลายแบบคือ  ทรงยอดมณฑป  ทรงยอดปรางค์  
ทรงยอดมงกุฏ  และ ทรงยอดเจดีย์  (  ใช้แก่อาคารที่ใช้ในกิจเกี่ยวกับ
พระมหากษัตริย์และ ศาสนา  )


ภาพตัวอย่างของการใช้ " เรือนยอด หรือ กุฏาคาร  "
ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ และ ศาสนา


แล้ว" ยอดพระธาตุ สีทอง "  ที่เห็นข้างหน้านี้  เป็นรูปแบบใด ล่ะ ?
คำตอบ -  เป็น  เรือนยอด  หรือ  กุฏาคาร  " ทรงยอดเจดีย์ "


แล้วอาคาร " ด่านศุลกากรจังหวัดนครพนม "  แห่งนี้
มีศักดิ์และสิทธิ  ที่จะใช้หลังคา  เป็นรูปแบบ " เรือนยอด "
ได้หรือไม่  ?
คำตอบ  -  ไม่ได้  ไม่เหมาะสม  ต่อให้เป็นถึงทำเนียบนายกรัฐมนตรี
เพราะไม่ได้มีเรื่องราวอะไร ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ ศาสนา


ด่านตรวจคนเข้าเมืองนครพนม ( ปัจจุบัน )








ด่านตรวจคนเข้าเมืองนครพนม








ก็เป็นเพียงสถานที่ราชการธรรมดาๆ ไม่ได้มีอะไรไฮโซ สลักสำคัญ
จนต้อง มีการออกแบบให้มีความพิเศษเป็นอย่างยิ่ง เช่นนี้เลย


พระธาตุพนม  -  ศาสนา


ด่านศุลกากรจังหวัดนครพนม  -  อาคาร


เมื่อรวม 2 ส่วนเข้าด้วยกัน  จึงเกิดเป็น  "  ศาสนาคาร  "


แล้ว สถานที่แบบนี้  เป็น " ศาสนาคาร  "  อย่างนั้น หรือ


ถ้าไม่บอกว่า  อาคารที่เห็น เป็นเพียง " ด่านชายแดนธรรมดา "
คนไม่รู้ ก็คงคิดว่า เป็นอาคารเฉลิมพระเกียรติ หรือ พระวิหารของวัด
นี่คือ  ความพิเรน อุตริ วิปลาศ  อุบาท ของ คนออกแบบ
ที่บังอาจ อาจเอื้อม ไม่รู้จักที่ต่ำ ที่สูง  ความไม่บังควร



สะพานมิตรภาพ ไทย - ลาว  แห่งที่ 3  ( นครพนม - คำม่วน )
บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม  จังหวัดนครพนม 
จะได้เปิด ตามกำหนดการ ใหม นี่  ?




ไม่ว่าจะดูในมุมไหน  มันก็ดูสูงส่ง เกินหน้าที่ใช้สอยของหน่วยงาน
ที่เป็นเพียงหน่วยราชการ  ที่ต้องให้การบริการแก่ประชาชนทั่วไป


" ด่านพรมแดน "  ที่เว่อ มากๆ หรือ  " วิหาร ศาสนาคาร  "





" ศาสนาคาร  "  นวัตกรรมใหม่ทางสถาปัตยกรรม
 ของ กรมทางหลวง  กระทรวงคมนาคม
ซึ่งอาจจะเป็นต้นแบบที่เรียกว่า " นครพนม โมเดล  "
ให้หน่วยราชการโง่ๆ แห่งอื่น  ได้จดจำไปทำตามอย่างบ้าง
เช่น  การใช้ พระธาตุ พระเจดีย์  หรือ พระปรางค์  มาประดับ
หลังคาอาคาร  เพื่อเป็นศิริมงคล และขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่


สถาปนิก ผู้ออกแบบ  เขาว่า " เขาใช้สัญลักษณ์ ของจังหวัดนครพนม "
ไม่ได้ใช้พระธาตุพนม  แล้วนี่ มันคือ อะไร  ?





 

ตราสัญลักษณ์ ของจังหวัดนครพนม  อย่างนั้น หรือ 


สิ่งเคารพกราบไหว้  กลายมาเป็น  เครื่องประดับ  ได้อย่างไร ?





 หนังสือคำชี้แจง ของ สถาปนิก ผู้ออกแบบ
ใน โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง
กรมทางหลวง  กระทรวงคมนาคม




"  โดยได้อัญเชิญตราสัญลักษณ์ของจังหวัดนครพนม  มาประดิษฐานไว้บนส่วนยอดสูงสุด ของอาคารด่านพรมแดน  ที่แสดงออกถึงความเคารพยกย่องเชิดชูไว้สูงสุด  และถือว่าเป็นสิ่งมงคลกับอาคารด่านพรมแดน และเป็นขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่  "

ในคำชี้แจงนี้  ไม่ได้มีส่วนไหนเอ่ยถึง " พระธาตุพนม "  เลย   ? 
แสดงเจตนา ที่จะเลี่ยงกับการใช้คำว่า " พระธาตุพนม "
แต่ก็รู้ดีว่า " สัญลักษณ์ ของจังหวัดนครพนม "  นั้น เป็นสิ่งมงคล
เออ ก็ ยังพอมีเสี้้ยวของสมอง อยู่เหมือนกันนี่
แต่ยังไง คนกรมทางหลวงคนนี้ก็ไม่รู้ตัวว่า เขาเป็นบ้า เสียสติไปแล้ว ล่ะ

เอาละ ในเมื่อ " กรมทางหลวง " เชื่อมั่นว่า  ได้ทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว
ในโอกาศ ที่เราจะได้รัฐบาลใหม่ในเร็วๆนี้
ก็จะเชิญหน่วยงานต่อไปนี้  ให้ออกมาร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกันคือ
-  กระทรวงวัฒนธรรม
- กรมศาสนา
- กระทรวงคมนาคม

ส่วนเรื่องที่ว่า  จะเปิดสะพาน  ได้ทันตามกำหนดหรือไม่
ก็ขอบอกว่า  ไม่ทราบ

สวัสดี