วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ศาลบรรพบุรุษชาวกะเลิง " ดอนปู่ตา " ของดีที่ " คำเตย " ตำบลคำเตย อำเภอเมืองนครพนม




              บนถนนสายขามเฒ่า - คำเตย จะพบป้ายบอกระยะทางไปสถานที่ท่องเที่ยวของตำบลคำเตย  " ดอนปู่ตาคำเตย "


เมื่อเห็นศาลาริมทางข้างหน้า ให้เลี้ยวขวามือที่ทางสามแยก



สังเกตศาลาหลังที่  ตรงทางสามแยกของถนนขามเฒ่า - คำเตย
  

ถนนลูกรังตลอดทาง


มาสุดทางสามแยก  จะสังเกตุต้นยางใหญ่อยู่ข้างหน้าง






ต้นยางต้นนี้ทั้งสูง ทั้งลำต้นใหญ่พิเศษ จะเห็นโดดเด่นมาก


เลี้ยวซ้ายมือ  จะเห็นป้ายบอกทางไปศาลปู่ตา " ดอนปู่ตา " อยู่ที่หัวมุมถนน




มีวัดป่าที่สุดถนน


ตรงไปตามถนนสายนี้



เลยวัดป่ามาสักหน่อยก็จะเห็นสามแยกนี้  ให้เลี้ยวซ้ายออกไปทุ่งนา




พอเลยทุ่งนามาสักหน่อย  จะเห็นรั้วศาลเจ้า " ดอนปู่ตา " อยู่รำไร




อาณาบริเวณป่าเตย  ที่ตั้งของศาลเจ้า " ดอนปู่ตาคำเตย "



เห็นป้ายภายในศาล มาแต่ไกล



ด้านหน้าศาลเจ้า " ดอนปู่ตาคำเตย " เป็นทุ่งนาโล่งกว้าง


ศาล " ดอนปู่ตา " ตั้งอยู่ที่ป่าเตย  บ้านคำเตย  ตำบลคำเตย หมู่ 5 อำเภอเมืองนครพนม  จังหวัดนครพนม  มีเนื้อที่ป่า  14 ไร่  ในบริเวณนี้ถือเป็นเขตอภัยทาน ชาวบ้านถูกสอนให้เชื่อว่ามีวิญญานปู่ตาดูแลคุ้มครอง มีกฏของผีป่าปู่ดอนตา ห้ามจับห้ามล่าสัตว์ทุกชนิด หรือ ตัดต้นไม้ทั้งน้อยและใหญ่
หากผู้ใดละเมิด บังอาจตัดต้นไม้ หรือ ไล่ล่าจับสัตว์ในเขตนี้  ก็จะพบความวิบัติในชีวิต





แผ่นป้ายจารึกประวัติของชาวเผ่ากะเลิงคำเตย  ตั้งอยู่ด้านหน้าของศาลดอนปู่ตา


เต่าปูนปั้น  หมอบอยู่หน้าป้ายประวัติชาวกะเลิง



เต่ากระดองชั้นเดียวผิวเรียบ  ที่เห็นอยู่ข้างหน้าแผ่นป้าย  เชื่อว่าเป็นสัตว์เลี้ยงของปู่ตา
เต่าชนิดนี้มีเป็นจำนวนมากในป่าเตย  ถือเป็นสัตว์อภิสิทธิ์  จะไม่มีไม่มีผู้ใดกล้าล่า กล้าฆ่า 


ภายในศาลเจ้า " ดอนปู่ตาคำเตย " ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่รอบด้าน



อาคารศาล ดูสวยสมัย  เพราะเพิ่งจะสร้างมาเมื่อไม่นานมานี้เอง



ภายในศาล  ตกแต่งเรียบง่าย  ไม่ได้ประดับประดาอะไรเป็นพิเศษ


ภายในศาลปู่ตา  จะตั้งศาลวิญญานของปู่ตา 3 ท่าน ที่ชาวคำเตยเคารพยำเกรงมากว่า 200 ปีแล้ว
 ได้แก่  ท้าวคำเหลือง ที่ถือว่าสำคัญที่สุด ศาลอยู่ตรงกลาง , ส่วนขวามือเป็นศาลของ ท้าวคำแดง และด้านซ้ายมือเป็นศาลของ ท้าวรมรัตน์


ศาลปู่คำแดง


ศาลปู่คำเหลือง


ศาลปู่รมรัตน์


ในวันขึ้น 10 ค่ำ  เดือน 6 ของทุกปี ตรงกับเดือนพฤษภาคม  ชาวกะเลิงคำเตย
ก็จะจัดพิธีกรรมเลี้ยงไหว้วิญญานปู่ตาขึ้นที่ศาลเจ้าแห่งนี้  โดยชาวบ้านจะนำดอกไม้ธุปเทียน อาหาร และเหล้า  มาเลี้ยงปู่ตา  มีข้อแม้ว่า  จะไม่ฆ่าสัตว์ที่อยู่ในป่าเตยนี้  มาทำอาหารเท่านั้น   


คลิป  ศาลเจ้า " ดอนปู่ตาคำเตย "

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แวะชม " สิมเก่า " ที่วัดศรีคุณเมือง ของดีที่ชาวคำเตยต้องอนุรักษ์ ในเขตอบต.คำเตย อำเภอเมืองนครพนม


วัดศรีคุณเมือง  บ้านคำเตย ตำบลคำเตย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม


กำลังสร้างโบสถ์ศาลาใหม่


อาคารใหญ่อย่างนี้  คงใช้ปัจจัยอีกมาก


โบสถ์ใหม่กำลังสร้างข่ม " สิมเก่า " ที่ตั้งอยู่ด้านข้าง


        " สิม " หรือ พระอุโบสถ สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสานแท้ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็ก  มีผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  มีหลังคาทรงหน้าจั่วที่เรียบง่ายไม่หรูหราอลังการ
พูดถึง " สิมเก่า " หลังนี้ของวัดศรีคุณเมือง  ที่ทั้งไม่ได้สวยสดงดงาม ซ้ำยังเก่าทรุดโทรม  
แต่ในทางวิชาการโบราณคดีแล้ว ถือว่า มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมไทยมาก
ปัจจุบันมีคนไม่รู้คุณค่าของสิมเก่า  จึงนิยมสร้างใหม่แล้วทุบ " สิมอีสานเก่า " ทิ้งไปมาก  
สมควรที่ ชาวคำเตยทุกคนจะต้องช่วยกันอนุรักษ์รักษามรดกอันเก่าแก่นี้ไว้
ให้ชาวโลกได้ชื่นชมและลูกหลานขาวกะเลิงคำเตยได้ภาคภูมิใจต่อไป
เพราะทุกวันนี้ เรื่อง วัฒนธรรมประเพณีในภูมิภาคอีสาน โดยเฉพาะ  " สิมอีสาน " 
กำลังเป็นที่สนใจของ นักท่องเที่ยวผู้รักในศิลปวัฒนธรรมและของเก่าๆ 


มีประตูเข้าสิม  แต่ไม่มีหน้าต่าง


                 มีการเจาะผนังโบสถ์เป็น " ช่องเปิด " แทนหน้าต่างเพื่อรับแสงสว่างและระบายอากาศตามแบบอย่างวัฒนธรรมของ" จาม " หรือ " ขอม " 


ผนังด้านนอก มีการตกแต่งประดับประดาด้วยลวดลายดอกไม้ที่เรียบง่าย
 ซึ่่งเป็นลักษณะของ " สิม " ในถิ่นอีสานทั่วไป



" สิม " ตั้งอยู่บน " ฐานบัว " ปูนปั้น 2 ชั้น หรือ " ฐานเชิงบาตร " แบบท้องถิ่นนิยม


" ช่องเจาะ " นี้ เป็นที่นิยมในการก่อสร้าง " สิม " ในภาคอีสานทางตอนเหนือ


ภายใน " สิม " ประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์


สังเกตุว่าถึงมีช่องแสงแค่นี้  ภายใน " สิม " ก็มีแสงสว่างเพียงพอ


ต่อไปแม้โบสถ์ใหม่จะเสร็จสวยงามอย่างไร  ก็ขอร้องให้ช่วยรักษา " สิมเก่า " นี้ด้วย
อย่าได้มีผู้ใดคิดจะทุบ " สิมเก่า " นี้ทิ้งเลย นะครับ


วัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้าง โบสถ์ใหม่ของวัดศรีคุณเมือง


สภาพบ้านคำเตย หมู่ 16 บนถนนสายขามเฒ่า - คำเตย




บรรยากาศบ้านคำเตย บนถนนสายขามเฒ่า - คำเตย


มีปั๊มน้ำมันแบบหยอดเหรียญด้วย



สถานีอนามัยคำเตย



ป้ายนี้  เมื่อไหร่ จะซ่อม ?






อบต.คำเตย  มีพื้นที่กว้างขวางมาก  แต่ละหมู่บ้านจะห่างใกลพอสมควร


บ้านหนองดินแดง  ที่ตั้งของ อบต.คำเตย



วัดที่บ้านหนองดินแดง





ป้ายที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคำเตยนี้  ถือว่า เป็นป้าย อบต.ที่ดูดีมาก
เท่าที่เคยเห็นที่ อบต.อื่นๆมา  ลงตัวทั้งการออกแบบและการเลือกใช้วัสดุ




วันนี้เป็นวันหยุด  จึงเห็นแต่ อปพร.


มีจานดาวเทียมด้วย




มีรถดับเพลิง รถเก็บขยะ สมกับขนาดของ อบต.



องค์การบริหารส่วนตำบลคำเตย  ถือเป็น อบต.ขนาดใหญ่ มีประชากร 11,866 คน มีครัวเรือนจำนวน 2,406 หลังคาเรือน  มี นายขจร  มองบุญ  เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคำเตย
อยู่ในเขตปกครองของอำเภอเมืองนครพนม  ปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองเป็น 18 หมู่บ้าน  ได้แก่
หมู่ 1 บ้านหนองดินแดง , หมู่ 2 บ้านโพนสวรรค์ ,  หมู่ 3 บ้านวังไฮ , หมู่ 4 บ้านคำเตย , หมู่ 5 บ้านคำเตย , หมู่ 6 บ้านคำเตย , หมู่ 7 บ้านโพนป่าหว้าน , หมู่ 8 บ้านทุ่งมน , หมู่ 9 บ้านบ้านดอนแดง , หมู่ 10 บ้านโพนค้อ , หมู่ 11 บ้านหนองยาว , หมู่ 12 บ้านหนองกุง , หมู่ 13 บ้านดอนแดง , หมู่ 14 บ้านเจริญทอง , หมู่ 15 บ้านดอนแดง , หมู่ 16 บ้านคำเตย ,หมู่ 17 บ้านทุ่งมน , หมู่ 18 บ้านโพนสวรรค์ 


ตัวอาคารที่ทำการ อบต.ฯ ดูด้อยกว่าป้ายที่อยู่ด้านหน้า


สนามฟุตบอล






จากการค้นหาข้อมูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครพนม
 พบว่ามีเวปไซต์ของ อบต.ต่างๆที่พอเป็นสัปปะรดไม่ถึง 20 จาก 108 อบต. 
นอกนั้นเป็นเวปตายซากมาหลายปีไม่เคยอับเดท หรือ บางอบต.ก็ยังไม่เคยมี
ข่าวว่า  มีบริษัทต่างๆ มาขอเสนอทำเวปไซต์ให้ในราคา ปีละ 30,000 บาท
แต่ผู้บริหารคงอยากประหยัดและคิดว่าอบต.ของเราคงไม่มีอะไรน่าสนใจ ละมั๊ง
จึงไม่คิดจะปรับปรุงหรือมีเวปไซต์เป็นของตัวเอง  เฮ้อ ไม่รู้จะขี้เหนียวไปทำไม
เอาไว้ให้มีคนร้องเรียนในเรื่อง ขอข้อมูลไม่ได้  แล้วจะผิดตาม พรบ.ข้อมูลข่าวสาร


มูลค่าถนนเข้าไปที่ทำการ อบต.คำเตย เส้นนี้  น่าจะมากกว่าค่าก่อสร้างที่ทำการ



ทางเข้า อบต.คำเตย บนถนนหมายเลข 2033 สายนครพนม - นาแก

สวัสดี ครับ