การแสดงของชาวไทข่าบ้านโสกแมว ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม นครพนม
เพื่อร่วมงานประเพณีไหลเรือไฟ เนื่องในเทศกาลออกพรรษาประจำปี 2553
ของจังหวัดนครพนม
ณ ที่เวทีการแสดงศิลปวัฒนธรรม หน้าตลาดอินโดจีน ถนนสุนทรวิจิตร
สรภัญญะ คือ ทำนองสำหรับสวดคำที่เป็นฉันท์ , ทำนองขับร้องทำนองหนึ่ง
สามารถเขียนและออกเสียงได้ทั้ง 4 แบบตามความนิยมของท้องถิ่น เช่น สรภัญญะ - สอ ระ พัน ยะ
/ สรภัญญ์ - สอ ระ พัน หรือ สะ ระ พัน / สารภัญญ์ - สา ระ พัน
มีการสวดมานานแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แต่นิยมสวดเป็นภาษาบาลี และมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาโดยตรง ต่อมามีผู้แต่งคำสวดเป็นภาษาไทย ให้อุบาสกอุบาสิกาใช้สวดในวัด เช่น การสวดทำวัตร มีเนื้อหาที่ได้จากกระทู้ธรรมและพุทธสุภาษิต
ในภาคอีสาน ไม่สามารถสืบได้ว่ามีการสวดสรภัญญ์ ตั้งแต่เมื่อไหร่
เป็นบทสวดประเภทหนึ่ง ที่ฆราวาสในภาคอีสานนิยมสวดกันในวันอุโสถศิลป หรือ วันพระ
และมักนำมาประชันกันว่า หมู่บ้านใดสวดได้ไพเราะ หรือ มีความคมคายกว่ากัน
การสวด หรือ การขับ นี้ ชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกว่า " ฮ้องสรภัญญ์ "
ปัจจุบันนิยมสวดกันใน งานศพ งานทอดผ้าป่า งานกฐิน งานแห่เทียน งานกวนข้าวทิพย์ และกิจกรรมในวันธรรมสวนะ
การสวดสรภัญญ์ มีรูปแบบลำดับของการสวด ดังนี้
1. กลอนเตรียมตัว ( ใกล้เคียงกับการไหว้ครู ) การเตรียมตัวกราบไหว้พระรัตนตรัย
2. กลอนบูชาดอกไม้ เป็นการบูชาเบื้องต้นด้วยสิ่งของที่มีอยู่ในมือของตัวเอง
3. กลอนไหว้ครูบาอาจารย์ ถัดจากการไหว้พระแล้ว ก้เป็นการรำลึกถึงครูอาจารย์
4. กลอนเดินทาง การพรรณาของผู้ร้องสรภัญญ์ ถึงการเดินทางบุกป่าฝ่าดงมายังสถานที่สวด
5. กลอนปัญญาน้อย เป็นกลอนแสดงการถ่อมตนไม่โอ้อวด ให้เกียรติผู้อื่น
6. กลอนให้รักษาศีล มีเนื้อหาสาระของจริยธรรม ว่าด้วย ศีล ทานและภาวนา
7. กลอนพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ที่มีเนื้อหาว่า พระรัตนตรัยมีอยู่กี่ประการ
8. กลอนสังขารไม่เที่ยง กล่าวถึง " สภาวธรรม " เพื่อเตือนให้ผู้คนสำนึกอย่าประมาท
9. กลอนนรก - สวรรค์ ว่าด้วย นรกเป็นปลายทางของคนบาป และสวรรค์คือ อานิสงส์ของคนบุญ
10. กลอนคุณบิดาคุณมารดา ชีนำให้คนรู้จักคำว่า " กตัญญูกตเวทิตา " ต่อพ่อแม่และผู้มีพระคุณ
11. กลอนลาและอวยพร เป็นกลอนส่งท้าย ผู้ร้องจะบอกลาพระสงฆ์และผู้ฟังทุกคน แล้วอวยพรให้มีความสุข อยู่ดี มีแฮง
ประโยชน์ของการสวดสรภัญญ์ คือ การดึงผู้คนให้ใกล้ชิดพระศาสนามากขึ้น
เพราะปัจจุบัน มีการส่งเสริมให้มีการประกวดสวดสรภัญญ์อยู่เสมอ ตั้งแต่ระดับตำบลจนถึงภาค
และยังถ่ายทอดให้กับเยาวชน โดยบรรจุอยู่ในวิชาการเรียนการสอนของท้องถิ่นอีสานด้วย
การขับสรภัญญะในตอน บทกลอนลา และ ลำลาว
การลำลาว และการถ่ายรูปหมู่ พิธีกรสาวจากหนังสือพิมพ์ ซี เอ็น เอ็น
การขับสรภัญญะ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเต็ม ตอนที่ 1
การขับสรภัญญะ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเต็ม ตอนที่ 2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น