เชิญเที่ยว " งานประเพณีไหลเรือไฟจังหวัดนครพนม ประจำปี 2554 "
ณ บริเวณริมแม่น้ำโขง ตลอดถนนสุนทรวิจิตร โดยเฉพาะ บริเวณตลาดอินโดจีน และ บริเวณ ถนนรอบศาลากลางจังหวัดนครพนม
ระหว่าง วันที่ 5 - 13 ตุลาคม 2554
กำหนด การไหลเรือไฟปีนี้ จะมีในคืนวันพุธ ที่ 12 ตุลาคม 2554
oooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo
ประมวลภาพ งานประเพณีไหลเรือไฟจังหวัดนครพนม ประจำปี 2553
ประเพณี " ส่วงเฮือ " หรือ การแข่งเรือยาว
การแข่งขันเรือยาว บนลำน้ำโขง
การแข่งขันเรือยาว บนแม่น้ำโขง เริ่มตั้งแต่วันที่
บรรยากาศ งานไหลเรือไฟนครพนม บนถนนริมแม่น้ำโขง ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม
ที่ เวที ของเทศบาลเมืองนครพนม หน้า ตลาดอินโดจีน มีกิจกรรมที่มากมาย
การแสดงของชาวไทกะเลิงคำเตย อำเภอเมืองนครพนม
การแสดงของชาวไทโส้ บ้านโพนจาน อำเภอโพนสวรรค์
การแสดงของชาวไทข่า บ้านโสกแมว ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม
สรุปว่ามีกิจกรรมที่น่าสนใจหลายอย่าง ที่ ลานกันเกรา หน้า " ตลาดอินโดจีน " ครับ
การจัดงานในบริเวณ ศาลากลางจังหวัดนครพนม
เวทีคอนเสริท ที่ ศาลากลางจังหวัดนครพนม
ร้านค้าในงานไหลเรือไฟ ที่ถนนข้าง ศาลากลางจังหวัดนครพนม
การแข่งขันเตะตะกร้อ ในงานไหลเรือไฟ คืนแรก ปี 2553
เรือไฟโชว์ ของจังหวัดนครพนม
บรรยากาศ การชมขบวนการไหลเรือไฟ ที่ร้านอาหาร ริมฝั่งโขง ปี 2553
การชมขบวนเรือไฟ ในคืนวันที่ 23 ตุลาคม 2553
สปอนเซ่อร์ เจ้าประจำที่อยู่คู่งานไหลเรือไฟ มากว่า 20 ปีแล้ว
oooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo
สิ่่งละอันพันละน้อย เกี่ยวกับงานประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม
เดิมการไหลเรือไฟ ก็เป็นพิธีเล็กๆ ที่ทำตอนท้ายของงานออกพรรษา หรือ งานบุญเดือน 11
ชองชุมชนชาวลุ่มน้ำโขงที่มีมากมายหลายกลุ่ม ซึ่งมีความผสมผสานระหว่างศรัทธาในพระศาสนา และ ความเชื่อในสิ่งลี้ลับภูติผีวิญญานตามเผ่าพันธุ์บรรพบุรุษ
บ้างก็ว่าเพื่อแสดงความคารวะต่อแม่พระคงคา ด้วยความที่ชุมชนได้อาศัยแม่น้ำใช้อาบกิน
บ้างก็ว่า ช่วงเข้าพรรษาก็ได้อยู่ในศีลอยู่ในธรรมแล้ว เมื่อจะออกพรรษา ก็ควรแผ่บุญอุทิศให้บุพการีญาติโกโหติกาที่ล่วงลับไป แลเจ้ากรรมนายเวร ด้วย
คุณตาคุณยาย เคยเล่าบรรยากาศของงานวันสุดท้าย ในงานบุญ เดือน 11 ให้ฟังว่า
ที่บริเวณ วัด และ ท่าน้ำ ต้องจุดไฟ ให้ " แจ้งหุ่ง ทั้งทุ่ง ทั้งท่า "

ชองชุมชนชาวลุ่มน้ำโขงที่มีมากมายหลายกลุ่ม ซึ่งมีความผสมผสานระหว่างศรัทธาในพระศาสนา และ ความเชื่อในสิ่งลี้ลับภูติผีวิญญานตามเผ่าพันธุ์บรรพบุรุษ
บ้างก็ว่าเพื่อแสดงความคารวะต่อแม่พระคงคา ด้วยความที่ชุมชนได้อาศัยแม่น้ำใช้อาบกิน
บ้างก็ว่า ช่วงเข้าพรรษาก็ได้อยู่ในศีลอยู่ในธรรมแล้ว เมื่อจะออกพรรษา ก็ควรแผ่บุญอุทิศให้บุพการีญาติโกโหติกาที่ล่วงลับไป แลเจ้ากรรมนายเวร ด้วย
คุณตาคุณยาย เคยเล่าบรรยากาศของงานวันสุดท้าย ในงานบุญ เดือน 11 ให้ฟังว่า
ที่บริเวณ วัด และ ท่าน้ำ ต้องจุดไฟ ให้ " แจ้งหุ่ง ทั้งทุ่ง ทั้งท่า "
ด้วยงานออกพรรษาของจังหวัดนครพนม เคยเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มากบนลุ่มน้ำโขง
มีกิจกรรมต้องทำหลายอย่าง เช่น การแข่งขันเรือยาว การแห่ปราสาทผึ้ง การตักบาตรเทโว การจุดบั้งไฟ และ การไหลเฮือไฟ ปิดท้ายงานในคืนวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
ก็เลย ทำให้เหมือนไม่มีกิจกรรมอะไรที่โดดเด่นเป็นพิเศษในสายตาชาวบ้านทั่วไป

ก็เลย ทำให้เหมือนไม่มีกิจกรรมอะไรที่โดดเด่นเป็นพิเศษในสายตาชาวบ้านทั่วไป
" เฮือไฟ " โบราณสมัยก่อน ก็ทำตามภูมิปัญญาของพระและชาวบ้าน ใช้วัสดุที่ลอยน้ำได้ และ หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ และ ต้นกล้วย โดยนำมาประกอบเป็นลำเรือรูปทรงใดก็ได้ มีขนาดไม่ใหญ่โตอลังการอะไร แค่ใส่ของบูชาและประดับธงทิวให้สวยงาม แล้วปักขี้ไต้ประดับให้ทั่วลำเรือตามแต่จะจินตนาการ หรือ ตามแต่จะศรัทธา เพราะสมัยก่อนไม่ได้คิดถึงเรื่องการประกวดแข่งขัน
ดังนั้น สำหรับคนที่มีบ้านอยู่ริมโขง คงจำภาพคล้ายๆ ไฟลอยน้ำตะคุ่มๆในความมืดได้

จวบจนกระทั่ง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ไปสดุดตาความแปลกของ " เฮือไฟ " นี้เข้า
จึง นำเอางาน " ไหลเฮือไฟ " แบบบ้านๆนี้ ไปคิดพัฒนามาทำเป็นงานใหญ่ระดับชาติขึ้น
แล้วตั้งชื่อของงานว่า " ประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม "

" งานประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม "
ประเดิม ทดลองจัดเป็นครั้งแรก เมื่อ 28 ปีก่อน โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ในคืนวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือเมื่อ วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ 2526
เรือไฟโบราณครั้งนั้นที่จัดโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มีการประดับประดาที่สวยงาม
ขบวนเรือไฟโบราณนครพนม ( ยุคใหม่ ) ครั้งประวัติศาสตร์ วันที่ 23 ตุลาคม 2526
ต่อมาในปี 2527 การจัดงานไหลเรือไฟก็ถูกเปลี่ยนมือจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มาเป็นจังหวัดนครพนม แต่ด้วยทางจังหวัดนครพนม ( ผู้ว่าราชการจังหวัด ) ยังไม่มีความพร้อม ดังนั้น ประชาชนชาวนครพนมกลุ่มหนึ่ง จึงร่วมมือกับ เทศบาลเมืองนครพนม ( ในขณะนั้น ) ช่วยกันจัดงานไหลเรือไฟ โดยฝีมือของชาวนครพนมเองขึ้นเป็นครั้งแรก มีการจัดงานที่ใหญ่โตมาก เช่น มีขบวนแห่เรือไฟทั้งทางบก และ ทางน้ำ มีการประกวดเรือไฟ พร้อมกฎเกณฑ์กติกาเกี่ยวกับขนาดของเรือไฟ เป็นครั้งแรก ที่สำคัญ คือ มีการให้รางวัลผู้ชนะเป็นหลักแสนบาท ( ทองคำบาทละ 1,600 ) ซึ่งทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆและเงินรางวัล ก็เป็นเงินที่ผู้จัดงานช่วยกันไประดมหาจากบรืษัทห้างร้านหลายแห่งมาดำเนินการทั้งสิ้น โดยไม่มีงบของราชการเลยแม้แต่บาทเดียว
และเมื่อ " งานไหลเรือไฟ " กลับไปอยู่ภายใต้การดำเนินงานของจังหวัดนครพนม อย่างเป็นทางการนับแต่นั้นมา สภาพรูปแบบของงานประเพณีไหลเรือไฟนครพนม ก็ไม่ได้พัฒนาไปมากกว่าเดิม ยังเป็นงานระดับจังหวัดแบบบ้านๆ อย่างที่เห็น ในปัจจุบัน
คุณหมอกฤษฎา มนูญวงศ์
หรือ " หมอแขก " ชื่อที่ชาวนครพนมรู้จัก มากกว่าชื่อจริง
อดีตรองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม
ผู้อาสาพาพรรคพวกช่วยกันจัดงาน " ไหลเรือไฟ ยุคใหม่ โดยชาวนครพนม " เป็นครั้งแรก
คุณหมอแขก ช่วยเล่าบรรยากาศเก่า ๆ เมื่อทำงานไหลเรือไฟ ในครั้งนั้น

คุณบวร บุปผเวส อดีตนายกเทศมนตรีเมืองนครพนม 2 สมัย
ท่าน ได้เล่าถึง " งานไหลเรือไฟ ในสมัยก่อน "
และเมื่อ " งานไหลเรือไฟ " กลับไปอยู่ภายใต้การดำเนินงานของจังหวัดนครพนม อย่างเป็นทางการนับแต่นั้นมา สภาพรูปแบบของงานประเพณีไหลเรือไฟนครพนม ก็ไม่ได้พัฒนาไปมากกว่าเดิม ยังเป็นงานระดับจังหวัดแบบบ้านๆ อย่างที่เห็น ในปัจจุบัน
คุณหมอกฤษฎา มนูญวงศ์
หรือ " หมอแขก " ชื่อที่ชาวนครพนมรู้จัก มากกว่าชื่อจริง
อดีตรองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม
ผู้อาสาพาพรรคพวกช่วยกันจัดงาน " ไหลเรือไฟ ยุคใหม่ โดยชาวนครพนม " เป็นครั้งแรก
คุณหมอแขก ช่วยเล่าบรรยากาศเก่า ๆ เมื่อทำงานไหลเรือไฟ ในครั้งนั้น

คุณบวร บุปผเวส อดีตนายกเทศมนตรีเมืองนครพนม 2 สมัย
ท่าน ได้เล่าถึง " งานไหลเรือไฟ ในสมัยก่อน "
คุณกระจาย เกตุวัฒนเวสน์ แห่ง ร้านกระจายอีเล็คโทรนิคส์
อดีต นายก เจ.ซี นครพนม ปี 2522
เรี่ยวแรงสำคัญที่สุดของคณะทำงาน ในการดำเนินงาน " ไหลเรือไฟ ยุคใหม่ "
บทความเก่า จากหนังสือ เจ.ซี นครพนม เมื่อ ปี 2522

ลานตะวันเบิกฟ้า ในอดีต เมื่อ ปี พ.ศ 2526
ลานตะวันเบิกฟ้า ในวันนี้
แล้วพบกันอีกครั้ง เมื่องานไหลเรือไฟ ปี 2554 ได้เริ่มขึ้น ครับ
สวัสดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น