โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ประตูระบายน้ำ น้ำก่ำตอนล่าง
กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตั้งอยู่ที่บ้านโนนสังข์ ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ทางเข้าโครงการ
สำนักงานโครงการ ฯ
ประตูระบายน้ำ น้ำก่ำตอนล่าง
เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
" โครงการประตูระบายน้ำ น้ำก่ำตอนล่าง "
เป็นหนึ่งในแผนงานหลัก " โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ อันเนื่องในพระราชดำริ " มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บกักน้ำ เพื่อใช้ในการอุปโภค - บริโภค มีเนื้อที่ประมาณ 22,000 ไร่ ทำหน้าที่ระบายน้ำลงสู่ด้านท้ายน้ำในฤดูน้ำหลาก ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของราษฏรที่น้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูกในฤดูน้ำหลากและขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
อาคารประตูระบายน้ำ มีจำนวน 4 ช่อง ขนาด 10x9 เมตร
- ระดับสันฝายน้ำล้น + 143.50 ม.รทก
- ความสามารถในการระบายน้ำ 1,200.00 ลบ.ม / วินาที
- บ้นใดปลาโจน เป็นชนิด Pool Type ขนาด 3x3 เมตร ยาว 108 เมตร
ประตูระบายน้ำ เมื่อดูไกลๆก็เหมือนเล็ก แต่พอเข้ามาใกล้ๆ
จะมีขนาดใหญ่โตมาก
ความเป็นมาของ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มี ประวัติความเป็นมาว่า ด้วยราษฏรในท้องถิ่นบริเวณทั้งสองฝั่งลำน้ำก่ำในเขตจ.สกลนครและนครพนม ทูลเกล้าขอความช่วยเหลือจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงช่วยแก้ปัญหาในเรื่องน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูกในฤดูฝน และขาดแคลนน้ำเพื่อทำการเกษตร รวมทั้งอุปโภคและบริโภคในช่วงฤดูแล้ง
ความเป็นมาของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ลำน้ำก่ำมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาภูพาน ในเขตจังหวัดสกลนคร ไหลผ่านหนองหานในเขต อ.เมือง จ.สกลนคร แล้วไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ผ่าน อ.เมือง , อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร , อ.นาแก จ.นครพนม ไปบรรจบลงสู่แม่น้ำโขงที่ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม รวมความยาวลำน้ำประมาณ 123 กม. ลำน้ำก่ำมีลำน้ำสาขาที่สำคัญอยู่ 2 สาขา คือ ลำน้ำพุงอยู่บนเทือกเขาภูพานและ ลำน้ำบัง ซึ่งไหลลงมาบรรจบกับลำน้ำก่ำ ที่ อ.นาแก จ.นครพนม พื้นที่รับน้ำฝนของลุ่มน้ำก่ำ ประมาณ 3,440 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยต่อปี ประมาณ 1,400 ล้านลูกบาศก์เมตร
ต่อมาเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำในเขตจังหวัดสกลนครและในเขตจังหวัดนครพนม ตามแนวพระราชดำริที่ทรงวางโครงการไว้ เพื่อช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณสองฝั่งลำน้ำ ในเรื่องน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูกในฤดูฝนและขาดแคลนน้ำทำการเกษตร รวมทั้งอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง กรมชลประทานได้สนองพระราชดำริ โดยพิจารณาวางโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำแยกออกเป็น โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนบน และ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนล่าง
น้ำยังน้อย ต้องคอยให้ถึงหน้าฝน เมื่อได้ปริมาณน้ำตามที่ต้องการแล้ว
ก็จะปิดประตูระบายน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูกาลอื่นต่อไป
บ้านพักของเจ้าหน้าที่โครงการ สวยงามหรูหราเหมือนบ้านจัดสรรชั้นดี
โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ ของโครงการ ฯ อยู่ระหว่างดำเนินการ
ถ้าดำเนินการแล้วเสร็จ คงจะสวยมาก
สวนสาธารณะ ในโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ที่ยังไม่แล้วเสร็จ
เมื่อการปรับปรุงภูมิทัศน์เสร็จสมบูรณ์ บริเวณนี้จะมีความสวยงามมาก
จะกลายเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในท้องถิ่นต่อไป
มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ด้วย
พื้นที่โครงการฯ กว้างขวางมากถึง 22,000 ไร่
ศาลาพระพุทธมงคล พิทักษ์ลุ่มน้ำก่ำ
จะเห็นประตูระบายน้ำ น้ำก่ำตอนล่าง อยู่เบื้องหลัง
มุมที่สวยที่สุดของ โครงการประตูระบายน้ำ น้ำก่ำตอนล่าง
ติแต่ว่า ห่างไกลและโดดเดี่ยวไปหน่อย
พระพุทธมงคล พิทักษ์ลุ่มน้ำก่ำ ทำด้วยหินทรายแกรนิต
พระพุทธมงคล พิทักษ์ลุ่มน้ำก่ำ
ถึงจะเป็นงานทำขึ้นใหม่ แต่ก็ให้บรรยากาศที่ดูขลังมลังมะเลืองดี
พระพุทธมงคล ฯ จะหันหน้าไปทางลำน้ำก่ำ หันหลังให้ประตูระบายน้ำ
สำนักงานก่อสร้าง 3
สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
งบประมาณ 622,721,300 บาท
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ ก็คือ
- ส่งเสริมประชาชนด้านการเพาะปลูกและการประมง
- เป็นสถานที่ท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในพื้นที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น